วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การจัดทำการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐาน TQF

               การจัดทำการเรียนการสอนในปัจจุบันตามกรอบมาตรฐาน TQF หลายท่านอาจคิดว่าเป็นเรื่องยาก แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในกรอบมาตรฐานดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนก็จะไม่กลายเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้หลักสำคัญของการจัดการเรียนการสอน TQF นั้นมีหลักการสำคัญดังนี้
1.  ต้องอ่านทำความเข้าใจใน TQF
2.  หาคำสำคัญที่เป็นคุณลักษณะของบัณฑิต
            ทั้งนี้หากผู้เกี่ยวข้องรู้ และเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จะทำให้การจัดทำการเรียนการสอนตามมาตรฐาน TQF เป็นไปอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม การรู้ การเข้าใจเพียงอย่างเดียวก็อาจไม่เพียงพอ หากแต่ความมีการจัดทำให้เป็นโครงสร้าง รูปแบบที่ง่าย มีการกำหนดขอบเขต แบบแผนก่อนมีการเรียนการสอน เพื่อให้คณาจารย์มีการเตรียมความพร้อมในการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตลอดจนการประเมินให้ได้มาตรฐานตามกรอบ TQF ซึ่งจะทำให้นักเรียน นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้คุณภาพมาตรฐานตามกรอบ TQF ที่ได้วางไว้ ตัวอย่างเช่น

หัวข้อที่สอน
กระบวนการเรียนรู้
คุณสมบัติ
ประเมิน
บันทึก
นำ
สอน
สรุป
1. ……....
2. ……….

         
เป็นการจัดกิจกรรมเสริมทางด้านศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรมในชีวิตประจำวัน อันเป็นการปลูกฝังนิสัยนักเรียน นักศึกษา เช่น การนำสวดมนต์ การนั่งสมาธิ แผ่เมตตา การทำความสะอาดห้อง การสอนให้เด็กยกมือไหว้ การดูแลปรนนิบัติผู้สอน เป็นต้น
มีการบรรยาย เปิดให้ซักถาม
ยกตัวอย่างประกอบ
ให้เด็กวิเคราะห์ นำเสนอความคิดเห็นดังกล่าว
นำ Key word จากการวิเคราะห์คุณสมบัติของนักเรียน นักศึกษาที่พึงมีตามกรอบมาตรฐาน TQF มาใส่

ตัวอย่างเช่น ข้อแนะนำหรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงครั้งต่อไป

                ตัวอย่างที่ใช้ยกในการจัดทำ Course Syllabus ที่สามารถตอบโจทย์ตามมาตรฐาน ม.ค.อ.

            โดยการจัดทำโครงสร้างใน Course Syllabus จะช่วยทำให้ผู้สอนรู้ว่า ผู้เรียน ผู้สอน เมื่อเรียนจบจะมีคุณสมบัติตามกรอบมาตรฐานอย่างไร ทั้งในส่วนของคุณธรรม จริยธรรม ว่าจะเป็นคนดีได้อย่างไร ในส่วนของความรู้ ว่าจะแม่นยำทฤษฎี หลักการเพียงใด ในส่วนของสติปัญญาว่าจะความรู้ที่ได้มาใช้อย่างไร จะมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหรือไม่ ตลอดจนจะสามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร เทคโนโลยี นั่นเอง

วิจัยชั้นเรียน : การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเขียนตอบรายวิชานิติปรัชญาด้วยวิธีผังความคิด

โดย อาจารย์ดวงพร  เลิศเจริญสมัย 
 คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 

               วิชานิติปรัชญาเป็นหนึ่งในหลายวิชาที่ผู้เรียนมักกล่าวว่า เป็นวิชาที่ยากที่จะเข้าใจ เพราะเป็นวิชาในเชิงคุณค่า หรือเชิงอุดมคติ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถเรียบเรียงและถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ตนเข้าใจอยู่ให้สอดคล้องกับหลักการเขียนตอบวิชานิติปรัชญาที่เป็นข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งต้องอาศัยการจดจำและเข้าใจในเนื้อหาสาระว่าปรัชญาแต่ละยุคสมัยนั้นๆ ได้มีหลักการอย่างใด นักปรัชญาแต่ละท่านในแต่ละยุคสมัยได้วางแนวคิด หลักการ และระบบไว้อย่างไร ตลอดจนนักปรัชญาคนดังกล่าวได้มีใครวิพากษ์วิจารณ์ไว้หรือไม่ อย่างไร  ถ้ามีผู้นั้นเป็นใคร วิจารณ์อะไร  และ แนวความคิดของนักปรัชญาคนนั้นมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งด้วยหลักการตอบดังกล่าวจึงได้ส่งผลให้การเรียน และเขียนตอบวิชานิติปรัชญาของผู้เรียนจึงมักไม่ค่อยประสบผลสำเร็จในการเรียน

                ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะผู้สอนวิชานิติปรัชญา จึงได้ทำการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยที่ผู้วิจัยและนักศึกษาเข้ามามีบทบาทร่วมกัน ด้วยการใช้วิธีผังความคิด ซึ่งเป็นวิธียึดหลักการจัดการเรียนการสอน และวิธีช่วยจำที่เน้นการสรุปเนื้อหาใจความสำคัญของเรื่องมาเชื่อมโยงสู่สาระสำคัญ จะเป็นการมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดมโนคติ และเจตคติที่ดีต่อการเรียน ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาความรู้ความเข้าใจจนสามารถถ่ายทอดความรู้ทั้งทักษะด้านการพูดและการเขียนตอบในรายวิชานิติปรัชญาได้เป็นอย่างดี
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยชั้นเรียนของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ รายวิชานิติปรัชญา เป็นจำนวนทั้งสิ้น 43 คน โดยศึกษาพบว่า จากตารางบันทึกคะแนนผลการตรวจการเขียนตอบวิชานิติปรัชญาโดยใช้วิธีผังความคิด รวม  10 ครั้งนั้น ผลปรากฏว่า การวิจัยครั้งนี้ คะแนนการแปรผลได้ 3.41 ซึ่งอยู่ในระดับผลสัมฤทธิ์ปานกลาง จากการสังเกตบันทึกคะแนนการทำแบบทดสอบพบว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากการไม่เข้าชั้นเรียนเพื่อฝึกทักษะของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้วัตถุประสงค์ของการวิจัยไม่สัมฤทธิ์ผล มีเพียงนักศึกษา 7 คนจาก 43 คนผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 60  และนักศึกษากว่าครึ่ง ไม่ผ่านเกณฑ์การให้คะแนนดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ภายหลังการวัดผลการศึกษาวิชานิติปรัชญา เมื่อนักศึกษาได้ทำการสอบปลาย ผู้วิจัยได้พบว่า นักศึกษาส่วนได้มีการนำหลักการดังกล่าวมาใช้ในการสอบ ซึ่งผลปรากฎว่าจำนวนนักศึกษาที่ทำคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในระดับ 60 คะแนน ขึ้นไป หลังสอบปลายภาคมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิม 7 คน ซึ่งเดิมคิดเป็นร้อยละ 16.29 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 51.15 เฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.85  ส่วนจำนวนนักศึกษาที่สอบได้ต่ำกว่าเกณฑ์ มีจำนวนลดลง  จากเดิม 35 คน คิดเป็นร้อยละ  83.72 ลดลงเหลือจำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ  48.85 เฉลี่ยลดลงร้อยละ 24.87  โดยสิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาสามารถนำหลักการเขียนตอบโดยใช้ผังความคิดมาเขียนตอบ ได้มากกว่าครั้งทำการทดสอบในชั้นเรียนที่เกิดมีผลสัมฤทธิ์ปานกลาง เป็นผลสัมฤทธิ์ ระดับมากที่สุด นั่นคือระดับ 4.83 ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่าการสอนนักศึกษาในรายวิชาที่เป็นแนวคิด เนื้อหาสาระมาก ด้วยหลักการใช้แผนผังความคิด สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ในการเขียนตอบของนักศึกษาให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการเรียนการสอนของคณาจารย์ นักศึกษา รวมทั้งผู้สนใจนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไปได้เป็นอย่างดี  แต่อย่างไรก็ตามในการวิจัยครั้งนี้ แม้จะมีนักศึกษาประสบผลสัมฤทธิ์ในระดับมากที่สุด แต่จำนวนนักศึกษาเกือบครึ่งที่ไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ เนื่องจากปัจจัยด้านพฤติกรรมนักศึกษา ความสามารถในการจดจำ กระบวนการคิดทางด้านกายภาพ ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ทำกิจกรรม การฝึกงาน หรือสุขภาพ เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการใช้แผนผังความคิดดังกล่าว จำเป็นที่จะต้องมีการอธิบายประโยชน์ การฝึก เพื่อให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีกับหลักการดังกล่าว อันจะส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมฝึกทักษะนี้มากยิ่งขึ้น